ภาพรวมการลงทุนครึ่งแรก ของปี 2022

558 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาพรวมการลงทุนครึ่งแรก ของปี 2022

ภาพรวมการลงทุนในครึ่งปีแรก ท่ามกลางวิกฤติโลกที่ถาโถม ผมขอสรุปดังนี้ครับ

1. เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง

รูป 1 Bureau of Labor Statistics - Inflation ของ USA

เงินเฟ้อของ USA ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เดือนเมษายน ปี 2022 เงินเฟ้อ 8.3% ในขณะที่ เงินเฟ้อไม่รวมพลังงานอยู่ที่ 6.2%

รูป 2 Newyorklifeinvestment  - US Inlfation

ถ้าย้อนกลับไปปี 2007 จะเป็นปีล่าสุดที่เงินเฟ้อสูงขึ้นเนื่องจาก ราคาพลังงานแต่ยังอยู่ในระดับไม่เกิน 4% ถ้าลองสังเกตดูแล้วเงินเฟ้อที่สูงระดับเกิน 5% กลับไปปี 1990 ที่เกิดสงครามคูเวต จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดเงินเฟ้อสูง มีโอกาสสูงที่เศรษฐกิจถดถอย

เงินเฟ้อของประเทศไทยก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเพิ่มจากปีก่อนถึง 4.65%

 

2. ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย

รูป 3 tradingeconomics.com  Fed Fund Rate

United States Fed Funds Rate  ในปัจจุบันอยู่ที่ 1.75% โดยมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มถึง 3.4-3.8% แต่ดอกเบี้ยของประเทศไทยกลับยังไม่ได้เพิ่มขึ้นทันดอกเบี้ยของ USA ดังรูปข้างล่าง

รูป 4 investing.com อัตราดอกเบี้ย

 

ส่งผลให้ Bath ไทยอ่อนค่าเทียบกับ USD พุ่งเป็น 35 บาท ต่อ 1 USD

รูป 5 จาก Tradingview – อัตราแลกเปลี่ยน BATH และ USD

รูป 6 จาก Pi Security

การที่ดอกเบี้ยเพิ่มอย่างเร็วและแรงของ USA เพื่อหยุดเงินเฟ้อที่สุดจะตามมาด้วย ตลาดหุ้นปรับฐานลงอย่างรวดเร็ว  เนื่องจากตลาดหุ้นเป็น Leading Indicator ดังนั้น ตลาดหุ้นจะปรับตัวลดลงก่อน เศรษฐกิจจริงจะปรับตัวลดลง

3. จีนยังคงใช้นโยบาย Zero COVID-19 และปัญหาสงครามยูเครน
จีนยังเดินหน้าใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ต่อไป  แต่เนื่องจากจีนเป็นศูนย์การผลิตของโลก ทำให้ยิ่งเกิดปัญหาการขาดแคลนในสายการผลิต  ยิ่งซ้ำเติมปัญหาของเศรษฐกิจโลกเข้าไปอีก ธนาคารโลก (World Bank) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกปี 2022 เหลือเพียง 2.9% จากเมื่อเดือนมกราคมที่คาดว่า GDP จะเติบโต 4.1% ขณะที่เศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ GDP 2.9%

World Bank เตือนว่า เศรษฐกิจโลกกำลังผ่านช่วงความไม่แน่นอนที่ผิดปกติอย่างมาก และมีแนวโน้มที่การเติบโตในอนาคตจะถูกปรับลดคาดการณ์ลงมาอีก “ตอนนี้เห็นได้ชัดว่ามีความเสี่ยงจากการหยุดชะงักมากมาย ตั้งแต่การล็อกดาวน์ในจีน ไปจนถึงผลกระทบต่อราคาอาหารจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน” World Bank กล่าว

4. ความกลัวปกคลุมตลาดหุ้นโลก

รูป 7 cnn.com - Greed and fear Index

ถ้าใช้ Greed and Fear Index ในการวัดความโลภและความกลัวในตลาดหุ้น จะเห็นได้ว่า ตอนนี้ ตลาดหุ้นกลัวสุดขีดมากๆ ส่งผลให้ตลาดหุ้นโดยเทขาย ติดลบ ยกเว้นกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานที่ ผลตอบแทนแบบ YTD (ตั้งแต่ต้นปี) เป็นบวก คือ 24.14% อยู่กลุ่มอุตสาหกรรมด้วย นอกนั้นจะติดลบหมด โดยเฉพาะกลุ่ม technology และสิ่งค่าฟุ่มเฟือยจะติดลบหนักที่สุด

รูป 8 seekingalpha.com ผลตบแทนรายอุตสาหกรรม วันที่ 24Jun2022

รูป 9  จาก Bloomberg  ผลตอบแทนของตราสารหนี้

 

ไม่เฉพาะตลาดหุ้นเท่านั้นที่ปรับตัวลดลง  แต่ตลาดตราสารหนี้ก็ปรับตัวลงลด เช่นกัน โดยปี 2022 ปรับตัวลดลง -11% เลยทีเดียว

5. ตลาดหุ้นเข้าสู่ Bear Market หรือ ตลาดหมี
ในขณะนี้ตลาดหุ้นเข้าสู่สภาวะตลาดหมี คือ ตลาดหุ้นทำการตกลงมาจากจุดสูงสุด เกิน -20% หมายถึงเข้าสู่สภาวะตลาดหมี  ผลตอบแทนของ Index ของแต่ละภูมิภาคของการลงทุน ผลตอบแทนอยู่ระหว่าง -15% ถึง -20%  ตามตารางข้างล่าง

รูป 10 etfdb.com ผลตอบแทนของ Passive ETF

ผมขอสรุปง่าย ว่าเมื่อมี COVID-19 เกิดขึ้น ธนาคารกลางทุกประเทศลดดอกเบี้ยเกือบ 0% พร้อมทั้ง อัดฉีดเงินเข้ามาในระบบจำนวนมาก เมื่อเหตุการณ์ COVID-19 ดีขึ้น  ทำให้เกิดความต้องการกลับมาเหมือนเดิม แต่กลับมีจำนวนมากเกินกว่าที่ผลิตได้เพราะ โรงงานปิดมาก  ยิ่งทำให้ของแพงขึ้น ยิ่งทำให้เกิดเงินเฟ้อสูงขึ้น

ดังนั้น ธนาคารกลางทั่วโลกต้องพยายามหยุดเงินเฟ้อ โดยการขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่เป็นธนาคารกลางของอเมริกา จำเป็นต้องขึ้นเร็วและแรง แต่การขึ้นดอกเบี้นแรงจะต้องแลกกับการที่การเติบโตเศรษฐกิจชะลอตัว ประกอบกับการที่เกิดสงครามยูเครน ทำให้น้ำมันแพงขึ้นไปอีก ส่งผลเงินเฟ้อด้วย

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ทำให้ตลาดหุ้นซึ่งเป็น Leading Indicator ปรับตัวลง สะท้อนมุมมองของนักลงทุนในอนาคตต่อเศรษฐกิจที่จะชะลอ หรือถดถอยในอนาคต

 

บทความโดย

สมพจน์ พัดสุวรรณ AFPT / IP 
BMK Wealth Management "เคียงข้างทุกความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน"

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้