416 จำนวนผู้เข้าชม |
กฏ 7 ข้อของเส้นทางอิสรภาพทางการเงิน
กฏข้อที่ 1 : จงมีเป้าหมายในชีวิต
อยากวางแผนการเงินแต่ไม่รู้เป้าหมายในชีวิตของตัวเอง แผนการนั้นย่อมไม่เกิด เหมือนกับการเดินทาง เราจะต้องรู้เป้าหมายก่อนถึงจะกำหนดการเดินทางของเราได้ การกำหนดเป้าหมายการเงินจะใช้หลักง่ายๆ คือ เพื่อใคร ชัดเจน ระยะเวลา จำนวน ระดับความสำคัญ เช่น หาเงินดาวน์บ้าน เพื่อครอบครัว จำนวน 500,000 ภายในระยะเวลา 3 ปี เป็นต้น
กฏข้อที่ 2: Pay yourself first
หลังจากรับรายได้มาแล้วให้ออมเก็บไว้ก่อน ก่อนที่จะไปจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั่วไปจะใช้สมการ เงินออม = รายได้ – รายจ่าย Pay yourself first สมการ รายจ่าย = รายได้ – เงินออม
กฏข้อที่ 3: สภาพคล่องดี
รู้ได้อย่างไรว่า สภาพคล่องดี ตรวจสอบง่ายๆ เงินสดควรจะมี ประมาณ 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน เช่น รายจ่ายต่อเดือน 10,000 ก็ควรจะมีเงินสด 60,000 บาทต่อเดือน เงินสด ควรจะมีมากกว่าหนี้สินระยะสั้นที่ผ่อนชำระไม่เกิน 1 ปี เช่น มีหนี้สินระยะสั้นอยู่ 100,000 เงินสดควรจะมีมากกว่า 100,000 รายจ่ายชำระหนี้ไม่ควรจะเกิน 45% ของรายได้ต่อเดือน เช่น ต้องจ่ายค่าผ่อนบ้าน 50,000 ต่อเดือน ในขณะที่มีเงินเดือน 100,000 ซึ่งเกิน 50%
กฏข้อที่ 4: ระวังคนมาปล้นเงินออม
หลายคนคง งง ใครจะมาปล้นเงินออมมีโจรหลายประเภทที่มาปล้นเงินออม เช่น
-โจรค่ารักษาพยาบาลทั่วไป
-โจรค่ารักษาพยาบาลโรคร้ายแรง
-โจรค่ารักษาพยาบาลของคนที่เราดูแล เช่น พ่อแม่ ลูก โจรพวกนี้ปล้นเงินออมที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน
-โจรความตาย จะพิเศษคือจะปล้นเงินที่เราหาได้ในอนาคต
เราควรจะโอนความเสี่ยงไปให้ประกัน เพื่อความจัดการความเสี่ยงตรงนี้
กฏข้อที่ 5: สี่เสาหลัก
ถ้าพูดถึงการวางแผนเกษียณหลายคนจะนึกถึงสินค้าทางการเงินก่อน เช่น RMF / บำนาญ / SSF ถ้ามองในมุมของสินค้ามากเกินอาจจะทำให้แผนเกษียณไม่ครบองค์ประกอบได้
4 เสาหลักของแผนการเกษียณ
• Health Care Fund จะต้องกองทุนสำหรับค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณซึ่งอาจจะทำประกันสุขภาพไว้ และต้องเก็บเงินส่วนหนึ่งที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง
• บำเหน็จ คือ เงินก้อนหลังเกษียณ จะต้องมากพอที่เราจะใช้ไปอีก 20 ปีหลังเกษียณ ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการใช้เงินหลังเกษียณ เดือนละ 30,000 หรือ 360,000 บาทต่อปี ซึ่งจะต้องเงินอย่างน้อย 7,600,000 บาท นี่เรายังไม่ได้คิดเงินเฟ้อ ถ้าคิดแล้วต้องมากกว่านี้แน่นอน
• บำนาญ คือกระแสเงินสดที่มีประจำหลังเกษียณ อาจจะมาจากค่าเช่น หรือ ประกันบำนาญ
• Tax benefit การลงทุนเราจะต้องมองในมุมในทำอย่างถึงจะได้ภาษีคืนด้วย เช่น การลงทุนใน RMF/SSF ประกันต่างๆ เราก็จะได้เงินคืนทำให้เรานำเงินมาลงทุนต่อได้
กฏข้อที่ 6: จงกระจายการลงทุน
ภาพจาก BOYD Wealth
จากภาพจะเห็นได้ว่า ไม่มีสินทรัพย์อะไรมีผลตอบแทนดีได้ต่อเนื่องทุกปี เช่น สินทรัยพ์ประเภท Large Cap ( หุ้นขนาดใหญ่) จะมีผลตอบแทนดังนี้
• 2020 มีผลตอบแทน 18.4%
• 2019 มีผลตอบแทน 31.49%
• 2018 มีผลตอบแทน -4.38%
Cash เงินสด
• 2020 มีผลตอบแทน 0.54%
• 2019 มีผลตอบแทน 2.21%
• 2018 มีผลตอบแทน - 1.82%
จะดีกว่าไหม ถ้าคุณจะกระจายการลงทุน การกระจายความเสี่ยงอาจจะทำให้ผลตอบแทนลดลง แต่ความเสี่ยงของคุณจะน้อยลงด้วย
กฎข้อที่ 7: รู้จักการรอคอย
ถ้าคุณต้องการเงิน 10 ล้าน ณ ตอนอายุ 60 ปี
• ถ้าคุณเริ่มต้นลงทุน ตอนอายุ 25 คุณจะต้องลงทุนปีละ 89,738 ผลตอบแทนอยู่ที่ 6%
• ถ้าคุณเริ่มต้นลงทุน ตอนอายุ 35 คุณจะต้องลงทุนปีละ 182,267 ผลตอบแทนอยู่ที่ 6%
• ถ้าคุณเริ่มต้นลงทุน ตอนอายุ 45 คุณจะต้องลงทุนปีละ 430,627 ผลตอบแทนอยู่ที่ 6%
ยิ่งเริ่มต้นช้า ทางเดินขึ้นเขายิ่งชัน ยิ่งลงทุนสั้น ยิ่งเหนื่อย เหมือนเดินขึ้นทางชันมากๆ ครับ จะต้องรู้จักการรอคอยการลงทุนให้มันเกิดดอกผล
บทความโดย
สมพจน์ พัดสุวรรณ AFPT / IP
BMK Wealth Management "เคียงข้างทุกความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน"