กลยุทธ์การลงทุนของ BMK ใน Q4 ปี 2022

556 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กลยุทธ์การลงทุนของ BMK ใน Q4 ปี 2022

1. สภาวะการลงทุนเป็นอย่างไร

1.1) Economic Growth

  • การเติบโตของ GDP ถูกปรับลดลงในปี 2023
  • ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเติบโตทั่วโลกชะลอตัวลงคือนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นโดยทั่วไป โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งเกินเป้าหมายของเงินเฟ้อที่เกินคาด การล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายปลอดโควิด-19 ของจีน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกเช่นกัน และความอ่อนแอของตลาดอสังหาริมทรัพย์ทำให้การเติบโตของจีนช้าลงเหลือเพียง 3.2% ในปี 2565

1.2) Inflation

แม้เงินเฟ้ออาจอาจจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ ซึ่งจะอาจใช้เวลานานกว่ากลับเข้าสู่ระดับปกติ

Global Inflation rate เพิ่มสูงขึ้น และจะค่อยทยอยปรับลดลงในปีต่อไป และแถบประเทศ Euro มี inflation ที่สูงเทียบกับพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากมีสงคราม

1.3) Monetary Policy Rate

ธนาคารกลางของแต่ละประเทศขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสู้กับเงินเฟ้อที่สูง โดยเฉพาะ Fed มีท่าที Hawkish ในการขึ้นดอกเบี้ยมาก

1.4) Bond in Bear Market

การขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงกว่าปกติ ทำให้ตลาดตราสารหนี้เข้าสู่ Bear market ในรอบ 20 กว่าปี โดยเฉพาะ Long-Term Bond จะได้ผลกระทบมากที่สุด

ตัวอย่างพอร์ต Conservative  หุ้น 20% / ตราสารหนี้ 80%

ทำการทดสอบด้วย  S&P500 ETF เป็นกองทุนดัชนี S&P500 และ AGG ETF เป็นกองทุน USA ตราสารหนี้ โดยทดสอบปี 2004 – Aug 2022

เนื่องจาก bond ปรับตัวลดลงมามาก ส่งผลให้พอร์ตแบบ Conservative ที่มีตราสารหนี้อยู่ 80% ก็ปรับตัวลงมาเช่นด้วยกัน โดยที่มี Max Drawdown ประมาณ -1x% ซึ่งมากกว่าปกติไม่เคยเกิน -10% ในรอบ 18 ปี

1.5) Market Performance

ประเทศส่วนใญ่จะปรับตัวลดลงมากกว่า ACWI World Index แต่อย่างไรก็ตาม หุ้นประเภทคุณค่า จะ outperform กว่าตลาดในช่วงนี้

ประเทศส่วนใญ่จะปรับตัวลดลงมากกว่าตลาด ยกเว้นบางประเทศ เช่น ไทย , อินโดนีเซีย และ Saudi Arabia ที่มีสัดส่วนหุ้นพลังงาน อยู่มาก

อุตสาหกรรมที่มีความ defensive เช่น Health , Consumer Staples และ Utilities  อุตสาหกรรมที่ไปกับเงินเฟ้อ เช่น Energy  อุตสาหกรรมการเงินที่ได้ประโยชน์จากการขึ้นดอกบี้ย กลุ่มเหล่านี้จะตกน้อยกว่าดัชนีตลาด

1.6) Global Stock Valuation

  • Valuation ของ ตลาดหุ้นโลก ปรับลดลงมามากต่ำกว่า PE 15
  • จีน  ยุโรป ปรับลงมาเกือบถึง PE 10 โดยเฉพาะ เวียดนามต่ำกว่า 10 แล้ว

  • PE ของตลาดหุ้นอเมริการปรับลดลงมา เกือบจะถึงเส้น PE 15  และ PEG อยู่ที่ 1.2 ลดลงมาต่ำในระดับที่น่าสนใจ

  • PE ของรายกลุ่มอุตสาหกรรม ปรับลดลงมามาก เทียบกับปี 2020-2021 โดยเฉพาะกลุ่ม technology และ consumer Discretionary แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมี PE สูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ

1.7) Business Cycle Framework

  • จากรูป Business Cycle  US , UK และ Eurozone อยู่ใน Late Cycle กำลังจะเข้าสู่ Recession Cycle
  • ส่วน จีนเข้าสู่ Recession Cycle และ มี แสดงสัญญาณเริ่มต้นของการเติบโตจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยท่ามกลางการกระตุ้นนโยบายที่เพิ่มขึ้น

 


2. Investment Strategy

สิ่งที่นักลงทุนจะต้องเข้าใจคือ ตลาดหมีเป็นเรื่องปกติ ตลาดหมีและ Recession เป็นสิ่งหนึ่งในวงจรชีวิตของการลงทุน มันเกิดขึ้นเสมอและจะเกิดขึ้นอีกเรื่อยๆ ตลอดไป

2.1) กลยุทธ์การลงทุน


2.2) Power Conservative

  • ยังคงมีสัดส่วน หุ้นและตราสารหนี้เหมือนดิม
  • แต่จะเปลี่ยนแปลงส่วนที่เป็น Core กระจายสัดส่วนของกองทุนดัชนีโลก TMBWDEQ โดยไปเพิ่มสัดส่วนไปยังกองทุนที่เน้นหุ้นคุณค่าแบบ SCBPGF และ SCBSET50 และเพิ่มส่วนของกองทุนหุ้นเติบโตแบบ K-USXNDQ-A(A)
  • เปลี่ยนกองทุนตราสารหนี้ จาก KFAFIX-A เป็น KKP ACT FIXED


2.3) Power Balance

  • ปรับสัดส่วนหุ้น จาก 45% เหลือ 35% โดยไปปรับที่ กองทุนในส่วน Satellite
  • ส่วน Core เพิ่มกองทุน SET10 ในสัดส่วนของหุ้นเน้นคุณค่า
  • เปลี่ยนกองทุนตราสารหนี้ จาก KFAFIX-A เป็น KKP ACT FIXED


2.4) Power Balance Income

  • สัดส่วนกองทุนหุ้นและกองทุนแบบผสม จาก 80% เหลือ 65% โดยไปเพิ่มตราสารเงิน


2.5) Power Growth

  • ปรับสัดส่วนหุ้น จาก 75% เหลือ 60% โดยปรับที่กองทุนในส่วน Satellite แบบ Sector โดยปรับ อุตสาหกรรม Semiconductor ออกไปเป็น Healthcare เพื่อความเป็น defensive มากขึ้น
  • ส่วน Core เพิ่มกองทุน SET50 ในสัดส่วนของหุ้นเน้นคุณค่า
  • เปลี่ยนกองทุนตราสารหนี้ จาก KFAFIX-A เป็น KKP ACT FIXED


บทความโดย

สมพจน์ พัดสุวรรณ AFPT / IP 
BMK Wealth Management "เคียงข้างทุกความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน"

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้